คณะแพทยศาสตร์ มช. ประชุมขับเคลื่อนผลงานวิจัย สู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์

คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักร ชิ้นส่วนโลหะ   และอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย ประชุมขับเคลื่อนผลงานวิจัย สู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 พร้อมรับมอบ “แผ่นวัดการกระจายแรงกด ท่านอน”

คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักร ชิ้นส่วนโลหะ   และอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย ประชุมขับเคลื่อนผลงานวิจัย สู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 พร้อมรับมอบ “แผ่นวัดการกระจายแรงกด ท่านอน” ซึ่งเป็นครุภัณฑ์สนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์จากคุณภานุวัฒน์ ตรียางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะผู้แทนสมาคมการค้าผู้ประกอบการ ผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุน เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้และผลิตงานวิจัยของ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มช. เรื่องอุปกรณ์เสริมเตียงที่นอนลมช่วยพลิกตัวอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และเก้าอี้ป้องกัน รักษาผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม โอกาสเดียวกันนี้ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือเรื่อง กิจกรรมขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช.เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือระหว่าง สมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักร ชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่  ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางการแพทย์  รวมถึงสภาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์สำหรับผู้พิการ ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์ ไม่ว่าจะด้านการพยาบาล และภาควิชาต่างๆ เพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ พัฒนาไปสู่การใช้ได้จริง และสามารถนำไปสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งที่ผ่านมาอาจารย์แพทย์หลายท่านได้เรียนวิศวะ ในการผลิตเครื่องมือแพทย์ ในภาควิชาออร์โทปิดิกส์หรือภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อที่จะนำนวัตกรรมทางการแพทย์เข้ามาใช้ได้จริงกับผู้ป่วย โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   อนึ่ง “แผ่นวัดการกระจายแรงกด ท่านอน” ที่คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้รับในครั้งนี้ มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถวัดท่านั่ง ท่านอนได้ดีขึ้น โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นเซ็นเซอร์ที่ต่อจากคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลหน้าจอให้เห็นว่าผู้ป่วยนอนในระดับใด สีจะถูกเปลี่ยนไปเมื่อมีแรงกดทับ

อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถคิดและต่อยอดนวัตกรรมได้หากปราศจากหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการขับเคลื่อนในครั้งนี้จะเป็นจะนำไปสู่งานวิจัยนวัตกรรมต้นแบบที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ประเทศไทยได้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในราคาที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น