สภาลมหายใจเชียงใหม่ร่วมกับคณะอนุกรรมการบริหารจัดการฝุ่นควันไฟป่า กขป.1 เปิดเวทีเสวนา เรื่อง เศรษฐกิจจากป่ากับการบริหารจัดการไฟป่าและฝุ่นควัน

จากประเด็นปัญหาการบริหารจัดการไฟป่าและฝุ่นควันที่กระทบเศษฐกิจจากป่า สภาลมหายใจเชียงใหม่ร่วมกับคณะอนุกรรมการบริหารจัดการฝุ่นควันไฟป่า กขป.1 จัดเวทีหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ณ ห้องประชุมโรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยประเด็นแรก เรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและสาเหตุของไฟแอบจุดไฟที่ไม่มีการควบคุมเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 โดยยกพื้นที่ตำบลแม่หอพระ และอำเภออมก๋อยเป็นกรณีศึกษา

โดยให้ผู้แทนในพื้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สะท้อนประเด็นปัญหา ในพื้นที่ที่เกิดขึ้น ประเด็นที่สอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการเศรษฐกิจจากป่าในพื้นที่ป่าเต็งรัง รวมถึงแผนการบริหารจัดการไฟของในพื้นที่ และประเด็นปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ป่าชุมชนที่จัดการได้ยาก ประเด็นสุดท้ายขอเวที พูดถึงแนวทางการผลักดันสู่ ไฟจำเป็น ที่ต้องบริหารจัดการ ทั้งยังมีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดย ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เสนอแนวทาง ไว้ 3 ประเด็นดังนี้ 1.สร้างความเข้าใจ ให้ตรงประเด็น ในเรื่องการชิงเผา ซึ่งปัจจุบัน ยังสื่อสารไม่ตรง วัตถุประสงค์ ควรมีนโยบายที่ชัดเจน สื่อสารให้กับสังคม ชุมชน เข้าใจตรงกันในทิศทางเดียวกันก่อน ไฟจำเป็นต้อง ครอบคลุม พื้นที่ป่าด้วยไหม หรือเผาตามกำหนดที่แม่นยำ ตรงจุด รวมถึงต้องสร้างผลกระทบน้อยที่สุด ควรทำคู่มือการใช้ไฟที่ถูกต้อง เผาอย่างมีหลักการและแผนดำเนินการอย่างชัดเจน
2 สถานการณ์ในพื้นที่ที่แตกต่างทางบริบท ตัวชี้วัด ชุดข้อมูลของแต่ละพื้นที่จะต้องเป็นตัวกำหนดไม่ใช่เป็นนโยบายภาพรวมแล้วให้ใช้ข้อมูลเดียวกันทั้งประเทศ 3.การกระจายอำนาจสู่ชุมชน โดยให้คนในชุมชนเป็นผู้ดูแลป่าอย่างแท้จริง และภาครัฐสนับสนุนความรู้ และงบประมาณอย่างพอเพียง

ทั้งนี้จากข้อเสนอ และทางออกการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าในในเวทีนี้ ได้ว่ายังต้องใช้เวลาและสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในเรื่องการใช้ไฟจำเป็น การชิงเผาที่ตรงจุด แม่นยำ การสร้างแผนงานในการดำเนินการที่ชัดเจน และการร่วมมือจากชุมชนผู้ใกล้ชิดป่า ต้องให้ชุมชนมีองค์ความรู้ และ ท้องถิ่น บริหารจัดการ พร้อมสนับสนุนงบประมาณในการจัดการที่แตกต่างในเชิงพื้นที่ เพื่อเกิดการจัดการร่วมกันอย่างยั่งยืนและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น