มช.จับมือหลายภาคส่วน ร่วมเปิดโครงการ ยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็น Smart City ด้วยเทคโนโลยีข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ (AI)

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ ร่วมในการเปิดโครงการ ยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็น Smart City ด้วยเทคโนโลยี ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมชูแนวทางการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ สู่การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อน

การจัดสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากบุคลากรจากภาครัฐและเอกชนกว่า 200 ท่านโดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนักวิชาการและผู้ที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีซึ่งให้เกียรติมาบรรยายหัวข้อต่างๆ เช่น Orientation of Smart Thailand, Smart City โดย ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อํานวยการ กลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัล และนวัตกรรม แม่เหียะโมเดล

ยกระดับเมืองสู่การเป็น Smart City โดย นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ เส้นทางสู่ Smart City เทศบาลนครยะลา โดย นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา Urban informatics: a data-driven smart city approach : การ ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะด้วยข้อมูล โดย รศ.ดร.สันติ พิทักษ์กิจนุกูร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาล 4.0 : เทศบาลในฐานะแพลตฟอร์ม โดย นายวีรวัฒน์ รัตนวราหะ Entrepreneur in Residence Commercial, AI and Robotics Ventures

การสร้างคนสร้างเมือง(องค์ความรู้) โดย ผศ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ รองผู้อํานวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Smart City ด้วยเทคโนโลยีข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ ให้เป็นนครแห่งชีวิตและมั่งคั่ง ใช้สำหรับการรองรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ตอบสนองการยกระดับคุณภาพชีวิต การบริการประชาชน สามารถต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Big Data และระบบ AI เข้ามาประยุกต์ร่วมกับการบูรณาการข้อมูลระหว่างรัฐและเอกชนผ่านการจัดทำระบบข้อมูลเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การสร้างแพลตฟอร์มข้อมูล และการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สามารถใช้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการค้า ของภาคเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคตและมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็น ตลอดจนการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น