ชลประทานเชียงใหม่ สั่งการผ่านมือถือต้นแบบการสั่งการเปิด-ปิดประตูส่งน้ำอัจฉริยะเพียงปลายนิ้ว

ชลประทานเชียงใหม่คิดค้นการเปิด-ปิดประตูส่งน้ำตามคลองสาขาแก้ไขปัญหาช่วงเกิดภัยแล้งของเกษตรกร เพียงปลายนิ้วมือสั่งการเปิดปิด เกษตรกรอยู่บ้านรับรู้ได้ผ่านมือถือเป็นแห่งแรกของภาคเหนือ

แห่งแรกของภาคเหนือ อีกหนึ่งความสำเร็จของต้นแบบการเปิดปิดประตูส่งน้ำแบบอัจฉริยะ ตามนโยบายของไทยแลดน์ 4.0 นายจรินทร์  คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ พร้อมนายเกื้อกูล  มานะสัมพันธ์สกุล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกรรม ชลประทานเชียงใหม่ โชว์ผลงานจากการคิดค้น เขียนโปรแกรมออกแบบให้ประตูส่งน้ำจากแม่น้ำปิง ไปยังลำเหมืองสาขาตลอดแนวแม่น้ำปิง เป็นต้นแบบแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ ใช้เวลาเพียง 6 เดือน สามารถนำมาใช้งานได้สมบูรณ์

นายจรินทร์  คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวว่าเป็นต้นแบบของการเปิดปิดประตูส่งน้ำ จากแม่น้ำปิง ซึ่งแต่ละจุดจะมีฝายต่างๆ จำนวน 12 จุด ที่จะใช้การเปิดปิดประตูส่งน้ำไปยังลำเหมืองต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้เพาะปลูก ซึ่งในห้วงที่เกิดวิกฤตภัยแล้ง เกษตรกรตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องมาถือกุญแจ เพื่อรอเปิดปิดน้ำเกิดการแย่งน้ำกัน ประตูส่งน้ำจะต้องมีโซ่และกุญแจคล้องไว้จะมีเพียงเจ้าหน้าที่เท่านั้น

ในปี 2563 นี้เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตภัยแล้งเกษตรกรไม่ต้องมานั่งเฝ้านอนเฝ้าเหมือนเดิม เพียงอยู่ที่บ้านก็สามารถทราบได้ว่ามีการส่งน้ำไปปริมาณเท่าไร เปิดปิดช่วงไหน ผ่านระบบไลน์ที่มีการแจ้งเตือนของกลุ่มผู้ใช้น้ำแต่ละพื้นที่  ทั้งนี้การทำงานจะสามารถสั่งการผ่านมือถือ ตรวจสอบการไหล ปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำเป็นกรดเป็นด่าง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถดำเนินการได้โดยจากนี้จะเข้าไปยังศูนย์บริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบสั่งการเปิดปิดน้ำ พร้อมกับมีกล้องวงจรปิดเข้ามาดำเนินการตรวจสอบได้อีก ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบความสมบูรณ์ก่อนจะขยายออกไป 12 จุดตลอดแนวแม่น้ำปิง หากพื้นที่ไหนเกิดปัญหาสามารถนำต้นแบบดังกล่าวไปใช้เพื่อลดปัญหาการแย่งน้ำของเกษตรกรต่อไป

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น