ความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ นกฟลามิงโก้ ของสวนสัตว์เชียงใหม่
สวนสัตว์เชียงใหม่เปิดส่วนจัดแสดงใหม่นกฟลามิงโก้ใหญ่พร้อมชมความสวยงาม ต้อนรับวันแม่แห่งชาติ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2562 นี้เป็นต้นไป
นายวุฒิชัย ม่วงมัน ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ร่วมกันเปิดพื้นที่ใหม่เป็น ส่วนจัดแสดงนกฟลามิงโก้ใหญ่ และปล่อยลูกนกฟลามิงโก้ใหญ่จำนวน 10 ตัว สู่อ้อมอกแม่ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของสวนสัตว์เชียงใหม่ในการเพาะขยายพันธ์นกฟลามิงโก้ใหญ่ ซึ่งลูกนกจำนวน 10ตัวนี้ พ่อและแม่นกจับคู่ผสมพันธุ์ ตั้งแต่เดือน เมษายน-พฤษภาคม 62 และได้ฟักตัวออกไข่ใบแรก เริ่มเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2562 ถือว่า เป็นรุ่นลูกนกของปี นอกจากนี้ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวชมสวนสัตว์เชียงใหม่ มีส่วนร่วมกับกิจกรรม LIKE & SHARE ถ่ายภาพกับนกฟลามิงโก้ใหญ่หรือคู่แม่ลูกถ่ายภาพแสดงความรัก อัพโหลดลง Facebook แฮชแท็ก สวนสัตว์เชียงใหม่ รับของที่ระลึกจากสวนสัตว์เชียงใหม่ทันที กิจกรรมนี้เริ่มตั้งแต่ วันที่ 10-12 สิงหาคม 2562 นี้เท่านั้น ปัจจุบันสวนสัตว์เชียงใหม่มีนกฟลามิงโก้ใหญ่ รวมทั้งหมด 61 ตัว
นกฟลามิงโก้เป็นนกที่สวยงามมาก คอและขายาว ขนสีชมพู ขนปีกสีดำ ปากสีชมพู ปลายปีกสีดำ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์นี้สีจะสดกว่าปกติ นกตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และสีจางกว่า มีปากคล้ายเหงือก ของปลาวาฬที่กรองเอาพวกแพลงตอนไว้ และระบายเอาน้ำออกได้หมดเวลากินอาหาร มีถิ่นอาศัยแถว ทวีปยุโรปจรดเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปแอฟริกา และอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือนกฟลามิงโก้ กินสิ่งมีชีวิตในน้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังหรือเปลือก และพืชผักในน้ำเป็นอาหาร เช่น ไรน้ำ ลูกกุ้ง แพลงตอน และสาหร่ายบางชนิด (ปัจจุบันทางองค์การสวนสัตว์ ประสบผลสำเร็จในการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่มี ความเหมาะสมทางด้านโภชนาการสำหรับนกฟลามิงโก้โดยเฉพาะ ใช้เป็นอาหารให้กับนกฟลามิงโก้) นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในฤดูหนาว วางไข่บนพื้นดินตามชายฝั่งเท่านั้น โดยทำรังคล้ายตอไม้ด้วยดินเหนียวสูงประมาณ 15-18 นิ้ว วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ ใช้เวลาในการฟักประมาณ 28-32 วัน ปัจจุบันนี้นกฟลามิงโก้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ นกฟลามิงโก้ ของสวนสัตว์เชียงใหม่ เนื่องมาจากอาหารดี เป็นสูตรเฉพาะของนกฟลามิงโก ฤดูผสมพันธุ์ช่วงหน้าหนาว จังหวัดเชียงใหม่มีอากาศหนาวนานมีผลต่อการสืบพันธุ์ได้ดีในส่วนของการจัดแสดงดี มีพื้นที่ให้ทำรังมีการปล่อยนกได้สืบพันธุ์แบบอิสระ ไม่เก็บในคอกกักและมีการทำรังเทียมให้ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำรังของนก