ความมุ่งหวังในการสร้างป่าต้นน้ำหลากสี ดอยค้ำฟ้า
ดอยค้ำฟ้า ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีจำนวนมากกว่า 50,000 ไร่ ปัจจุบันไม่มีงบประมาณในการบำรุงดูแลสวนป่าแล้ว สภาพสวนป่าในปัจจุบัน บางจุดบางแปลง เป็นที่ว่างเป็นหย่อมๆ เกิดพื้นที่โล่งเตียน เนื่องจากถูกไฟไหม้ซ้ำซากหลังจากหมดงบประมาณในการดูแลสวนป่า ไม่มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ จึงมีสภาพไม่เหมือนป่าธรรมชาติ จำเป็นต้องมีการปลูกเสริม และดูแลให้เติบโตต่อไปเพื่อให้มีความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้และเกิดความยั่งยืนของป่าต้นน้ำ
ดอยค้ำฟ้า ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่สวนป่าต้นน้ำ ที่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนคอง หน่วยจัดการต้นน้ำแม่งาย เข้ามาดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 จากไร่ร้าง ไร่ฝิ่น ไร่เลื่อนลอยเมื่ออดีตกาล ให้กลับมาเป็นป่าต้นน้ำของลุ่มน้ำปิงตอนบน โดยปลูกต้นสนสามใบเป็นไม้เบิกนำหลักในยุคเดิม พื้นที่สวนป่าต้นน้ำที่ปลูกฟื้นฟูแล้ว มีจำนวนมากกว่า 50,000 ไร่ ปัจจุบันไม่มีงบประมาณในการบำรุงดูแลสวนป่าแล้ว เนื่องจากมีอายุเกิน 10 ปีหลังการปลูก สภาพสวนป่าในปัจจุบัน บางจุดบางแปลง เป็นที่ว่างเป็นหย่อมๆ เกิดพื้นที่โล่งเตียน เนื่องจากถูกไฟไหม้ซ้ำซากหลังจากหมดงบประมาณในการดูแลสวนป่า ไม่มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ จึงมีสภาพไม่เหมือนป่าธรรมชาติ การจะทำให้มีต้นไม้อื่นๆขึ้นในพื้นที่สวนป่า จึงจำเป็นต้องมีการปลูกเสริม และดูแลให้เติบโตต่อไปเพื่อให้มีความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้และเกิดความยั่งยืนของป่าต้นน้ำ แต่ด้วยข้อจำกัดว่าเป็นสวนป่าเก่า จึงไม่อาจของบประมาณเพื่อการปลูกเสริมในสวนป่าเก่าได้ จึงต้องหาค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากงบประมาณมาดำเนินการปลูกเสริมป่าในสวนป่าที่อายุเกิน 10 ปีแล้ว และเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและใช้ประโยชน์จากสวนป่าเก่าโดยชุมชนมีส่วนร่วมดูแลฟื้นฟูรักษา และได้รับประโยชน์จากพื้นที่สวนป่าของรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นเครื่องมือ จึงได้ทดลองทำกิจกรรม สร้างป่าต้นน้ำหลากสีดอยค้ำฟ้า ขึ้นเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการปลูกเสริมสวนป่าเก่า ซึ่งได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปลูกเสริมสวนป่าเก่าที่ไม่มีงบประมาณดูแลแล้ว ให้มีพันธุ์ไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ ปลูกเสริมด้วยพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ที่มีดอกสวยงามตามฤดูกาล สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ จากทุกภาคส่วน รัฐ ชุมชน เอกชน ประชาชนทั่วไป สร้างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่สวนป่า เพื่อเป็นแหล่งกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่าให้เพิ่มขึ้นเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า
โดยมีวิธีการดำเนินการ คือ ก่อตั้ง มูลนิธิสร้างป่าหลากสี โดยเงิน csr ภาคเอกชน ที่ให้ความสนใจ ในการฟื้นฟูป่าและสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประสานงานโรงเรียน ให้นักเรียนเพาะกล้าไม้ยืนต้น ดอกสวยงาม โดยมูลนิธิสนับสนุนค่าใช้จ่าย ประชาสัมพันธ์ให้ นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมและนำกล้าไม้ไปลูกเสริมป่า เป็นต้นไม้ประจำตัว ให้คนในชุมชน ช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่ปลูกเสริมป่า จนกล้าไม้เติบโต ขอความร่วมมือให้นักท่องเที่ยว เอกชน บริจาคเงินสนับสนุน มูลนิธิในการดำเนินงาน หรือจัดกิจกรรมท่องเที่ยวหารายได้เข้ามูลนิธิเพื่อความต่อเนื่อง มูลนิธิประสานความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่นการให้การศึกษา การป้องกันไฟป่า การสร้างอาชีพชุมชน ที่ต่อเนื่องจากการฟื้นฟูป่าเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป
หลังจากได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ หน่วยงานภาคเอกชนช่วยในการฟื้นฟูป่าแล้ว ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ป่าต้นน้ำมีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ป่า มีความเหมือนป่าธรรมชาติมากขึ้นเร็วขึ้น มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่สวนป่าเก่าที่สมบูรณ์ยั่งยืน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำมากขึ้น มีความตระหนักในการอนุรักษ์มากขึ้น โรงเรียน และชุมชน มีส่วนในการศึกษาและได้รับประโยชน์จากพื้นที่สวนป่าทั้งทางตรงและทางอ้อมมากขึ้นเกิดความรัก หวงแหนมากขึ้น มีแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่มีอัตลักษณ์ ได้รับความสนใจจากในประเทศและต่างประเทศ
“บ้านวิวสวยเชียงดาว ” ให้บริการด้านที่พักแก่นักท่องเที่ยว เป็นช่องทางหนึ่ง ในการหารายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสร้างป่าต้นน้ำหลากสีดอยค้ำฟ้า ในภาคของเอกชน